Previous
Next

ผลิตภัณฑ์ของเรา

แพมเพิส

OYAKOUKOU DIAPER

แผ่นรองซับ

OYAKOUKOU DIAPER PAD

อาการข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของโรคไตค่ะ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการอย่างละเอียดโดยเร็วที่สุด ที่มา : – บทความเรื่อง โรคไต การป้องกันและการรักษา ของ ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช http://www.vibhavadi.com/mediapop.php?id=147 – บทความเรื่อง “โรคไต” ใครว่าไกลตัวเด็ก ของ อ.พญ. ธนพร ไชยภักดิ์ สาขาวิชาโรคไต ภ.กุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl//articledetail.asp?id=954,

เป็นอาการเริ่มต้นของโรคปัสสาวะเล็ดค่ะ แต่ยังสามารถป้องกันได้นะคะ โดยควรปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำ ดังนี้ – หลีกเลี่ยงชา กาแฟ และน้ำอัดลม ที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น – ฝึกขมิบ สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยฝึกขมิบ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อยประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำอย่างน้อย 4-5 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน – ระวังอย่าให้ท้องผูกบ่อย และควบคุมน้ำหนักให้พอเหมาะ เพื่อลดความดันในช่องท้อง ที่มา : – บทความเรื่อง สสส.แนะแก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดด้วยการขมิบ จาก สสส. วันที่ 17 ธันวาคม 2551 http://www.thaihealth.or.th/Content/5941-สสส.แนะแก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดด้วยการขมิบ.html, – บทความเรื่อง ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง ของแพทย์หญิงวริศรา จันทรศร สูติ-นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนรีเวชระบบทางเดินปัสสาวะ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท http://www.ladyhealthfirst.com/Article/Overactive_Bladder/th,

อาการฉี่เป็นฟองจะถือว่าผิดปกติและอันตรายต่อร่างกาย ก็ต่อเมื่อมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการตัวบวม มีสีเลือดปน หรือรู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ โดยมักจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ – มีโปรตีนในปัสสาวะสูงมาก โดยมีอาการตัวบวม มือเท้าบวม ฉี่เป็นเลือด อ่อนเพลียร่วมกับอาการปวดหลังและบั้นเอวด้วย ถือเป็นสัญญาณเสี่ยงโรคไต – ภาวะโปรตีนสูงในหญิงตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงกับอาการครรภ์เป็นพิษ – ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ – ภาวะทางเดินกระเพาะปัสสาวะเชื่อมต่อกับลำไส้ทะลุ มักพบอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะบ่อย สีปัสสาวะขุ่น รู้สึกปวดแสบเมื่อปัสสาวะ มีไข้ เป็นต้น ดังนั้นหากลองสังเกตตัวเองแล้วพบความผิดปกติต่างๆ ควรไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุดค่ะ ที่มา : – บทความเรื่อง ปัสสาวะเป็นฟอง (Foamy urine) ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ http://haamor.com/th/ปัสสาวะเป็นฟอง/ – บทความเรื่อง ปัสสาวะเป็นฟอง สัญญาณเตือน “โรคไต” ของ ลุงแจ่ม นักข่าวอาสา 29 พ.ย.55 http://www.oknation.net/blog/loongjame/2012/11/29/entry-4

หากมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะติดขัด คุณอาจมีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะได้ เช่น – กระเพาะปัสสาวะอักเสบ : มักมาพร้อมอาการปวดขัดหรือแสบเวลาถ่าย เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือเข้าห้องน้ำที่ไม่สะอาด – ท่อปัสสาวะตีบ : ท่อปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ รวมทั้งขาดฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ปัสสาวะติดขัด – หูรูดปัสสาวะบีบตัวผิดปกติจากการอุดตัน : มักเกิดจากการมีก้อนเหนือบริเวณหัวหน่าว เกิดนิ่ว หรือก้อนเลือดไปอุดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก แม้จะปวดมาก – กรวยไตอักเสบ : เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ลุกลามไปถึงไต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะขัด ร่วมกับไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากพบว่าตัวเองมีความผิดปกติดังกล่าว ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ ส่วนการป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ดีที่สุด ก็คือ การดื่มน้ำให้เพียงพอ ปัสสาวะตรงเวลา และรักษาความสะอาดค่ะ   ที่มา : – บทความเรื่อง “ฉี่ไม่ออก… ออกก็ไม่สุด” เสี่ยงเป็นหลายโรค!! ของมาดามเฮลท์ตี้ March 6, 2015  www.healthandtrend.com/healthy/disease/urinary-tract-infection – บทความเรื่อง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง ของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภ.ศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=9

หากมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะติดขัด คุณอาจมีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะได้ เช่น – กระเพาะปัสสาวะอักเสบ : มักมาพร้อมอาการปวดขัดหรือแสบเวลาถ่าย เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือเข้าห้องน้ำที่ไม่สะอาด – ท่อปัสสาวะตีบ : ท่อปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ รวมทั้งขาดฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ปัสสาวะติดขัด – หูรูดปัสสาวะบีบตัวผิดปกติจากการอุดตัน : มักเกิดจากการมีก้อนเหนือบริเวณหัวหน่าว เกิดนิ่ว หรือก้อนเลือดไปอุดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก แม้จะปวดมาก – กรวยไตอักเสบ : เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ลุกลามไปถึงไต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะขัด ร่วมกับไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากพบว่าตัวเองมีความผิดปกติดังกล่าว ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ ส่วนการป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ดีที่สุด ก็คือ การดื่มน้ำให้เพียงพอ ปัสสาวะตรงเวลา และรักษาความสะอาดค่ะ   ที่มา : – บทความเรื่อง “ฉี่ไม่ออก… ออกก็ไม่สุด” เสี่ยงเป็นหลายโรค!! ของมาดามเฮลท์ตี้ March 6, 2015  www.healthandtrend.com/healthy/disease/urinary-tract-infection – บทความเรื่อง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง ของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภ.ศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=9

ร้านค้าออนไลน์

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปชนิดเทป เหมาะกับผู้ป่วยที่ติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกเดินได้สะดวก ใส่ได้ง่ายในท่านอน สั่งซื้อในช่องทางเหล่านี้ง่ายๆ

ขอตัวอย่างฟรี